บทความ

ณาใส่ข้อความ …โครงร่างวิทยานิพนธ์

 

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์

การประเมินผลความคุ้มค่าของการลงทุนระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสน :าคารบางกอกซิตี้โฮเทลกรุงเทพมหานคร

 

 

The worthiness evaluation of system investment produces hot solar energy and Heat Pump for Bangkok city

hotel study

ชื่อนิสิต

นาย ณัฐพงศ์ สุขใหญ่

รหัสประจำตัว

51915181

ปริญญา

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาวิชา

พลังงานทดแทน

ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ผศ.ดร.นิพนธ์ เกิดจ้อย

กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

 

กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

[ตำแหน่งทางวิชาการ ชื่อ ชื่อสกุล]

ปีการศึกษา

2551

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


โครงร่างวิทยานิพนธ์

 

เรื่อง       การประเมินผลความคุ้มค่าของการลงทุนระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน : าคารบางกอกซิตี้โฮเทล กรุงเทพมหานคร

 

 

1.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

กระทรวงพลังงาน (2551) การใช้พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบันมีรูปแบบแตกต่างกันไป การใช้พลังงานไฟฟ้าในบางลักษณะหรือบางกิจกรรมไม่คุ้มค่า โดยการนำพลังงานไฟฟ้าไปผลิตเป็นความร้อนโดยตรง อาทิเช่น การผลิตน้ำร้อนเพื่อการใช้อาบหรือซักล้าง โดยที่พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานชั้นดี (High-grade Energy) การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนที่จัดเป็นพลังงาน Low-grade จึงไม่คุ้มกับค่าของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ดังนั้นการผลิตน้ำร้อนเพื่อใช้ประโยชน์ โดยใช้เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานอื่น เป็นแนวทางหนึ่งในการลดความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนได้ และยังช่วยลดมลภาวะจากการใช้พลังงานที่สะอาดด้วย การใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนเหลือทิ้ง (Waste Heat) จากชุดระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศมาผลิตน้ำร้อนก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถผลิตน้ำร้อนแทนการใช้ไฟฟ้า การผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 60-70 C เป็นน้ำร้อนที่คนส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมชีวิตประจำวัน เช่น การใช้อาบ ซักล้าง ประกอบอาหาร รวมไปถึงในงานอุตสาหกรรมบางประเภทอีกด้วย

โรงแรมและโรงพยาบาลเป็นกิจการที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในปริมาณค่อนข้างสูง และการผลิตน้ำร้อนส่วนใหญ่ยังนิยมการใช้ไฟฟ้าอยู่ ในกรณีที่เป็นโรงแรมและโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม (Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วทั้งโรงแรมและโรงพยาบาลสามารถใช้ระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์แบบผสมผสานร่วมกับระบบผลิตน้ำร้อนจากเครื่องปั้มความร้อนได้ เพราะโรงแรมและโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการใช้ระบบทำความเย็น แต่ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบลักษณะของอาคาร การใช้งานของเครื่องปั้มความร้อน และเงื่อนไขต่าง ๆ ของแต่ละสถานที่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้แตกต่างไป ถึงแม้ในบางกรณีการใช้ระบบผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์ และระบบน้ำร้อนจากเครื่องปั้มความร้อนอาจไม่เพียงพอหรือครอบคลุมทั้งปริมาณและอุณหภูมิที่ต้องการใช้งานทั้งหมด แต่ก็จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่าย พลังงานเชื้อเพลิงลงได้บางส่วน และประการสำคัญก็คือ เป็นการนำพลังงานความร้อนจากธรรมชาติเปล่ามาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

พลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะมีความต้องการสูงมากที่มีคาดการณ์ว่าความความต้องการใช้ไฟฟ้าและความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของประเทศจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 19.60 และ 19.53 ในทุกๆ 3 ปีดังแสดงในตารางที่ 1

 

ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าและความต้องการไฟฟ้าสูงสุด พ.2547-2559

 

ปี

ความต้องการใช้ไฟฟ้า(Kw/hr)ล้านหน่วย

อัตราการเพิ่ม

(ร้อยละ)

ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด

(MW)

อัตราการเพิ่ม

(ร้อยละ)

 

122,024

-

19,029

-

2550

147,835

21.15

23,020

20.97

2553

178,079

20.45

27,711

20.37

2556

211,146

18.56

32,842

18.51

2559

249,878

18.34

38,851

18.29

 

อัตราการเพิ่มเฉลี่ย

19.60

อัตราการเพิ่มเฉลี่ย

19.53

ที่มา : สำนักงานนโยบายและวางแผนพลังงาน (2545)

 

วิธีที่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้คือ การใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดหรือการประหยัดพลังงานเช่น การใช้พลังงานชนิดอื่นๆที่ราคาถูกและหาได้ในประเทศมาใช้ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงเช่น การใช้พลังงานลม หรือพลังงานจาแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าหรือใช้ในกิจกรรมอื่นๆทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลเช่น การผลิตน้ำร้อนโดยใช้ระบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการผลิตน้ำร้อนด้วยระบบที่พลังงานไฟฟ้าโดยตรง

              ในการศึกษานี้จะทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการทั้งในด้านการลงทุนติดตั้งระบบและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ของโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อมในด้านของการช่วยลดมลพิษทางอากาศ โดยนำข้อมูลต้นทุนและผลประโยชน์ดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และนำผลที่ได้ไปกำหนดเป็นนโยบายเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการด้านพลังงานของประเทศต่อไป

 

2.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนของโครงการผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานพลังงานของอาคารโรงแรม

 

3.  กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

 

[เริ่มพิมพ์ที่นี่ ขึ้นย่อหน้าใหม่กด ¿]

 

4.  สมมติฐานของการวิจัย

 

1.การผลิตน้ำร้อนด้วยระบบผสมผสานมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

2.ความร้อนจากฮีทปั้มและแสงอาทิตย์สามารถทำความร้อนได้จริงตามที่กำหนด

 

5. ขอบเขตการวิจัย

 

1.กำหนดการดำเนินการในอาคาร 

2.รูปแบบของเทคโนโลยีจะเน้นการผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับการอุปโภคและบริโภคในกิจกรรมของอาคาร โดยใช้ระบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีแผ่นรับแสงแบบแผ่นเรียบชนิดกระจกใสและเครื่องปั้มความร้อน

 3.การเก็บน้ำร้อนที่ผลิตได้จากน้ำร้อนผสมผสานเพื่อนำมาคิดคำนวนผลประโยชน์ของโครงการ ใช้ระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่       ถึง      เนื่องจากเป็นเวลาที่เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการทดสอบทางด้านเทคนิคของระบบผลิตน้ำร้อน

 

 

 

6. ข้อตกลงเบื้องต้น

 

[เริ่มพิมพ์ที่นี่ ขึ้นย่อหน้าใหม่กด ¿]

 

7.  ข้อจำกัดของการวิจัย

 

[เริ่มพิมพ์ที่นี่ ขึ้นย่อหน้าใหม่กด ¿]

 

8. คำสำคัญหรือคำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย

 

                  1.การผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์คือการผลิตน้ำร้อนจากแผงผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Collector) ซึ่งเป็นแผงที่ให้น้ำไหลผ่านท่อเพื่อรับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งต่างกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนั้นการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์คือการผลิตน้ำร้อนจากแผงผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่ใช่การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แล้วนำไฟฟ้าที่ได้มาต้มน้ำให้ร้อน

2. ปั๊มความร้อน (Heat Pump) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายเทความร้อนอุณหภูมิต่ำจากแหล่งหนึ่ง (Heat Source) มาทำให้ร้อนขึ้นแล้วส่งไปยังแหล่งที่ต้องการซึ่งมีความร้อนอุณหภูมิสูง (Heat Sink) โดยใช้อุปกรณ์เช่นเดียวกับ เครื่องปรับอากาศแต่สามารถใช้ความร้อนที่ออกจากเครื่องเพื่อไปทำน้ำร้อน หรือลมร้อน ส่วนความเย็นที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นผลพลอยได้ เพื่อทำลมเย็นใช้ร่วมในการปรับอากาศ หรือนำไปผสมกับ Fresh air เพื่อเข้าเครื่องทำความเย็นต่อไป

3. ต้นทุน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการผลิตไบโอดีเซล

4.ผลประโยชน์ หมายถึง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาผลิตเป็นไบโอดีเซล

5.ความคุ้มค่า   หมายถึง การเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ระบบผสมผสาน ความคุ้มค่าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผลประโยชน์มีมูลค่ามากกว่าต้นทุนในการผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์

 

 

 

 

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

1. แนวทางและวิธีการในการผลิตน้ำร้อนระบบผสมผสานเพื่อการใช้งานในโรงแรม และโรงพยาบาล อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า และหรือเชื้อเพลิงพลังงานอื่นในการผลิตน้ำร้อน

3. เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบการตัดสินใจในการลงทุนให้กับผู้ประกอบการอื่นๆที่สนใจในด้านน้ำร้อนระบบผสมผสาน

 

 

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

ปั๊มความร้อน
ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์(2543) ป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดึง ความร้อนจากแหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำ มาจ่ายให้แก่แหล่งความร้อนที่อุณหภูมิสูง ระบบปั๊มความร้อนที่ใช้กันมากที่สุด จะเป็นแบบระบบอัดไอ ซึ่งมีลักษณะการ ทำงานแสดงในรูปที่ 2.1 อุปกรณ์หลัก ของระบบปั๊ม ความร้อนแบบอัดไอประกอบด้วย อุปกรณ์อัดไอ (Compressor) คอยล์ร้อน(Condenser) คอยล์เย็น (Evaporator) และวาล์วลดความดัน (Expansion Valve) ในวงจรการทำงาน จะมีสารที่ระเหย ง่าย รับความร้อนในคอยล์เย็นเดือดกลายเป็น ไอที่อุณหภูมิต่ำ ไอที่ได้จะถูกอัดตัว โดยอุปกรณ์อัดไอ และไปควบแน่น ในคอยล์ร้อนที่ อุณหภูมิสูง จนกลายเป็นของเหลว จากนั้นจะลดความดันอย่างรวดเร็ว ผ่านวาล์วลดความดันจนมีอุณหภูมิ ต่ำมารับความร้อนที่คอยล์เย็นอีก



รูปที่ 2.1 การทำงานของระบบปั๊มความร้อนแบบอัดไอ

ที่มา : การอนุรักษ์พลังงานในระบบทำความเย็นอุตสาหกรรม


         สมมติมีของไหลทิ้งจาก กระบวนการผลิตที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียล ซึ่งถ้าทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง ก็ เป็นการก่อให้เกิดมลภาวะทาง ความร้อน (Thermal Pollution) และเป็นการสูญเสียพลังงานบางส่วน แต่ถ้านำของไหลดังกล่าว มาให้ ความร้อนที่คอยล์เย็นของระบบปั๊ม ความร้อน ดังแสดงในรูปที่ 2.1 อุณหภูมิที่ออกจากคอยล์เย็นจะลดลง ใกล้เคียงกับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและการสูญเสีย พลังงานจะลดลง นอกจากนี้ ถ้านำ ของไหลทิ้งที่ 50 องศาเซลเซีลสบางส่วน ไปรับ ความร้อนที่คอยล์ร้อนสามารถทำให้มี อุณหภูมิสูง (คุณภาพสูง) ขึ้น จากรูป อุณหภูมิสามารถเพิ่มได้เป็น 80 องศาเซลเซียล ซึ่งอาจสามารถ นำกลับไปใช้ใน กระบวนการผลิตได้โดยตรงอีก

         ความร้อนที่ถูกดึงกลับมา โดยมีคุณภาพหรืออุณหภูมิที่สูงขึ้น จากเดิม เมื่อนำมาใช้ในกระบวนการ ผลิตจะช่วยลดการใช้พลังงานหลัก ลงได้ ในรูปที่ 2-4 เป็นตัวอย่างในการ ใช้ปั๊มความร้อน ช่วยในการดึง ความร้อนกลับคืนมาใช้ประโยชน์ ในกระบวนการต่าง ๆ

 



รูปที่ 2.2 ปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า



         ในรูปที่ 2.2 ความร้อนจาก เชื้อเพลิงใช้ในการไล่ความชื้นออก จากผลิตภัณฑ์ สำหรับระบบอบแห้ง ทั่วไป ไอน้ำที่เกิดขึ้นจะถูกทิ้งสู่ สิ่งแวดล้อม แต่ถ้ามีการนำไอน้ำ ที่ทิ้งไป มาให้ความร้อนแก่ปั๊ม ความร้อน ซึ่งปั๊มความร้อนจะผลิต ความร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้น จ่าย ทดแทนความร้อนที่ได้จากเชื้อเพลิง ทั้งหมด หรือบางส่วนทำให้สามารถ ประหยัดเชื้อเพลิงหลักลงได้

        

 รูปที่ 2.3 เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการเพิ่มความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ในอุปกรณ์เดิม จะใช้ความร้อนมาไล่น้ำ ออกจากผลิตภัณฑ์ ปล่อยให้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นสูงออกด้านล่างและด้านบนจะปล่อยไอน้ำทิ้งออกไป



รูปที่ 2.3 การเพิ่มความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์โดยการระเหยน้ำ



         ไอน้ำที่ถูกไล่ออกมาอาจสามารถนำมาอัดให้มีอุณหภูมิสูงและความดันสูงขึ้น จากนั้นนำไอน้ำมาควบแน่นในอุปกรณ์ ความร้อนแฝงที่ปลดปล่อยออกมา จะเป็นแหล่งความร้อนในการระเหยน้ำออกจากผลิตภัณฑ์ทำให้ลดการใช้ความร้อน จากแหล่งภายนอกได้และคอนเดนเสท ซึ่งเป็นไอน้ำที่กลั่นตัวอาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีกด้วย

         ในรูปที่ 2.4 แสดงตัวอย่าง กระบวนการกลั่นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง ซึ่งต้องมีการให้ความร้อนเพื่อแยกสาร ระเหยง่ายออกมาจากอีกสารหนึ่งและ มีการระบายความร้อน เพื่อให้ไอสาร ระเหยควบแน่นกลับมาเป็นของเหลว ในกระบวนการเช่นนี้ ต้องการความ ร้อนค่อนข้างสูงและขณะเดียวกัน ต้องมีการดึงความร้อนที่ชุดระบาย ความร้อนด้วยเมื่อมีการนำปั๊มความร้อน มาใช้งาน ความร้อนที่ระบายทิ้งซึ่งเป็น พลังงานสูญเสียจะเป็นแหล่งพลังงาน ที่ปั๊มความร้อนดึงมาใช้ประโยชน์ โดยปั๊มความร้อนจะจ่ายความร้อน ภายในถังอุปกรณ์ ลดการใช้ความ ร้อนจากเชื้อเพลิงลง ระบบดังกล่าว จะช่วยประหยัด การใช้พลังงาน ภายในระบบลงได้มาก



รูปที่ 2.4 การแยกสารระเหยง่ายออกจากผลิตภัณฑ์



         พลังงานสูญเสียจะเป็นแหล่งพลังงาน ที่ปั๊มความร้อนดึงมาใช้ประโยชน์ โดยปั๊มความร้อนจะจ่ายความร้อน ภายในถังอุปกรณ์ ลดการใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงลงระบบดังกล่าวจะช่วยประหยัด การใช้พลังงานภายในระบบลงได้มาก

         นอกจากนี้ ในบริเวณที่มี อากาศหนาวเย็น เช่นในบริเวณ ภาคเหนือของประเทศไทยหรือใน ประเทศทางตะวันตก ปั๊มความร้อน ยังสามารถช่วยลดภาระในการให้ ความร้อน จากพลังงานเชื้อเพลิง หรือไฟฟ้าในการให้ความร้อนแก่ อากาศภายในอาคาร ตัวอย่างแสดง ในรูปที่ 2.5



รูปที่ 2.5 การให้ความร้อนภายในอาคาร



         ห้องที่มี การปรับอากาศ จะมีชุดให้ความร้อนทำให้อุณหภูมิ ภายในห้องได้ที่ต้องการ แต่เมื่อ การนำปั๊มความร้อนและอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนมาร่วมด้วย โดยอากาศที่ออกจากห้อง ที่มี การปรับอากาศ แทนที่จะปล่อย ทิ้งไป จะมีการนำมาอุ่นอากาศเย็นก่อน โดยถ่ายเทความร้อนส่วนหนึ่ง ในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน แล้วจะถูกทำให้เย็นลง ก่อนปล่อย ทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมโดยให้ความร้อนส่วนหนึ่งแก่คอยล์เย็นของปั๊มความร้อน ส่วนอากาศเย็นที่ ถูกทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จะมา รับความร้อนต่อที่ คอยล์ร้อนของ ระบบปั๊มความร้อน และถ้า อุณหภูมิ ยังสูงไม่พอจะมารับ ความร้อนเพิ่มเติม โดยชุดให้ ความร้อน ก่อนจ่ายเข้าสู่ห้อง ปรับอากาศต่อไป ระบบที่มีทั้ง ปั๊มความร้อน และอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อน พบว่าใช้ พลังงานรวมแล้วน้อยกว่า แบบ เดิมถึง 30 เท่า และดีกว่าระบบ ที่ อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน อย่างเดียวประมาณ 7 เท่า

         จากที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปั๊มความร้อนเป็น อุปกรณ์ที่มีศักยภาพสูง ในการนำ ความร้อนทิ้ง กลับคืนมาใช้ ประโยชน์ ซึ่งช่วยลดการใช้ พลังงานหลักลงได้ แต่อย่างไร ก็ตาม แบบดังกล่าวมีข้อด้อย คือต้นทุนมีราคาสูง และผู้ดูแล ต้องเป็นผู้ที่ต้องได้รับการฝึกฝนมา อย่างดี นอกจากนี้การทำงานที่ อุณหภูมิสูงมาก ๆ จะมีปัญหา กับการเลือกสารทำงาน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการ จะนำปั๊มความร้อนมา ใช้ประโยชน์ จะต้องคำนึงถึงช่วง อุณหภูมิที่ใช้งานและความคุ้มค่า ทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย

การตรวจเอกสารในครั้งนี้  จะเป็นแนวทางสำหรับการประเมินความคุ้มค่าของโครงการน้ำร้อนแสงอาทิตย์ระบบผสมผสานมาผลิตเป็นน้ำร้อนของอาคารบางกอกซิตี้ โฮเทล                   โดยจะใช้หลักการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินและเศรษฐศาสตร์   วิเคราะห์หามูลค่าต้นทุนค่าใช้จ่าย   ผลประโยชน์  มูลค่าปัจจุบันสุทธิ    (NPV)  อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ  (IRR)  และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนของโครงการ  (BCR)

 

 

บทความ (            )ระบบทำน้ำร้อนเดิมซึ่งทำความร้อนโดยใช้หม้อไอน้ำเป็นแหล่งกำเนิดความร้อนนั้น เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพไม่สูงและจะมีประสิทธิภาพต่ำลงเมื่อมีอายุการใช้งานที่มากขึ้น ประกอบกับต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอุปกรณ์ที่สูงขึ้นตามไปด้วย การใช้ปั๊มความร้อนทำน้ำร้อนแทนระบบที่ใช้หม้อไอน้ำจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ ทำน้ำร้อนลงได้ ทั้งนี้เนื่องจากปั๊มความร้อนเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง โดยทั่วไปมีค่า COP (Heating) มากกว่า 3 ขึ้นไป และยังได้ลมเย็นเป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ลดภาระการทำงานของระบบปรับอากาศได้ นอกจากนี้ระบบปั๊มความร้อนยังช่วยลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการลดการใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้อันเป็นตัวการทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนลงได้อีกด้วย

กลุ่มเป้าหมายหรือกระบวนการผลิตที่สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้แก่อาคารหรือโรงงานที่มีการใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50-60 oC ซึ่งอาจใช้น้ำที่มาจากชุดกำเนิดน้ำร้อน (Hot Water Generator) ที่แลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำกับไอน้ำของหม้อไอน้ำ หรือระหว่างน้ำร้อนกับขดลวดทำความร้อน (Electric Heater)

หลักการทำงานของปั๊มความร้อน คือการถ่ายเทความร้อนไม่ใช่การสร้างความร้อน กล่าวคือปั๊มความร้อนทำงานโดยการดึงความร้อนจากแหล่งความร้อน แล้วนำไปถ่ายเทในบริเวณที่ต้องการความร้อน ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่าปั๊มความร้อน เนื่องจากทำหน้าที่ในการปั๊มเอาความร้อนจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง วัฏจักรการทำงานมีลักษณะเช่นเดียวกับระบบการทำความเย็นแบบอัดไอ (Mechanical Vapor Compression Refrigeration System) ดังรูปที่ 2.6  ต่างกันเพียงแต่ปั๊มความร้อนจะเลือกใช้ประโยชน์จากด้านความร้อนเป็นหลัก และควบคุมอุณหภูมิด้านความร้อนแทนด้านความเย็น และได้ความเย็นเป็นผลพลอยได้ของระบบ

ปั๊มความร้อนจะทำหน้าที่ส่งผ่านความร้อนจากแหล่งความร้อนไปยังด้านที่รั บความร้อน ซึ่งถ้าส่งความร้อนไปเรื่อยๆ อีกฝั่งก็จะร้อนขึ้น และเมื่อสะสมมากๆ จะสามารถมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมากกว่าอุณหภูมิของแหล่งความร้อน ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิของอากาศหรือความร้อนภายนอกอาคารนั้นสูงเพียง 34 oC แต่ปั๊มความร้อนซึ่งมีสารทำงานในวงจรที่สามารถดูดความร้อนจากอากาศแล้วไปถ่ายเทให้กับบริเวณหรือตัวกลางที่ต้องการทำความร้อนเช่น น้ำ ซึ่งสามารถสะสมความร้อนได้จนอุณหภูมิสูงตามความต้องการที่ออกแบบไว้ เช่นกรณีของน้ำร้อนที่ใช้ในโรงแรมสามารถทำได้สูงถึง 60 oC

Image

 

รูปที่ 2.6 วัฎจักรการทำความร้อนของปั๊มความร้อน


วัฏจักรการทำงานด้านความเย็นกับความร้อนนั้นจะเชื่อมโยงกันด้วยสารทำงาน   (Working Substance – HCFC R22 หรือ HFC 134a) โดยเริ่มจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ ซึ่งสารทำงานจะถูกอัดเพื่อเพิ่มอุณหภูมิและความดัน จากนั้นสารทำงานถูกนำมากลั่นในคอนเดนเซอร์ (สารทำงานคายความร้อนออกไปให้กับน้ำ ทำให้ได้น้ำร้อน) จนได้ของเหลวความดันสูง หลังจากนั้น จะถูกลดความดันในเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว จนสารทำงานบางส่วนกลายเป็นไอหรือพร้อมที่จะระเหยเมื่อได้รับความร้อนจากแหล่งความร้อนในอีแวปเปอร์เรเตอร์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ระบบบปั๊มความร้อนมีการใช้พลังงานเพื่อขับคอมเพรสเซอร์และพัดลมที่บริเวณอีแวปเปอร์เรเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ และอาจมีการใช้พลังงานที่ปั๊มน้ำสำหรับระบบที่ถังน้ำ แยกเป็นคนละส่วนกับปั๊มความร้อนเท่านั้น

              ปั๊มความร้อนสามารถทำน้ำร้อนทดแทนการใช้น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในการผลิตน้ำ ร้อนได้ ปั๊มความร้อนเป็นระบบที่มีค่าสัมประสิทธิ์การทำงาน (COP) สูง โดยทั่วไปมีค่ามากกว่า 3 (คิดเฉพาะการทำความร้อน)  ทำให้ประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับการผลิตน้ำร้อนโดยใช้หม้อต้นน้ำที่ใช้น้ำม ันหรือก๊าซธรรมชาติซึ่งมีค่า COP ประมาณ 0.75 – 0.95  (ซึ่งหากนำลมเย็นที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ค่า COP รวมทั้งการทำความร้อนและการทำความเย็นก็จะสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว)

ส่วนประกอบของปั๊มความร้อน


ระบบปั๊มความร้อนตามความหมายของ ARI (Air Condition and Refrigeration Institute) จะประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังนี้
•    คอนเดนเซอร์ มีหน้าที่ระบายความร้อนจากสารทำงานไปสู่แหล่งระบายความร้อน
•    อีแวปเปอร์เรเตอร์ ทำหน้าที่ดูดความร้อนจากแหล่งความร้อน
•    คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่อัดไอของสารทำงาน (Working Substance) ให้มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิรอบคอนเดนเซอร์ เพื่อจะถ่ายเทความร้อนออกจากสารทำงาน
•    เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว หรืออาจเรียกว่าวาล์วขยายตัว ในกรณีที่ระบบมีขนาดเล็กจะใช้ท่อขนาดเล็ก (Capillary Tube) แทน มีหน้าที่ลดความดันของสารทำงาน
•    อุปกรณ์เสริม ได้แก่ ถังน้ำหุ้มฉนวน มีหน้าที่สำคัญสองประการด้วยกันคือ กักเก็บน้ำเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของอาคาร และเพื่อแบ่งระดับอุณหภูมิน้ำในกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งถัง นอกจากนั้นจะมีอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ปั๊มน้ำ ชุดควบคุมและวัดความดัน ชุดควบคุมและวัดอุณหภูมิ ชุดควบคุมและตรวจวัดค่าทางไฟฟ้า

การบำรุงรักษา คล้ายกับระบบปรับอากาศ ซึ่งทำได้โดยการทำความสะอาดคอนเดนเซอร์ อีแวปเปอร์เรเตอร์ และครีบระบายความร้อนเพื่อให้การถ่ายเทความร้อนมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทั่วไปจะใช้ลมเป่า และหมั่นตรวจสอบการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

ลักษณะของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ 

             

ชูชีพ   (2544)   ได้อธิบายถึงลักษณะของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการแบ่งได้ดังนี้

 

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการตลาด  (marketing  analysis)  การวิเคราะห์ด้านการตลาดจัดเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและถือเป็นเรื่องที่จะขาดเสียมิได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการของภาคเอกชนเพราะหากโครงการใดผลิตสินค้าออกมาแล้วไม่มีตลาดรองรับก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะทำการผลิต  นอกจากนั้นการวิเคราะห์ทางการตลาดจะทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการสินค้า  หรืออุปสงค์ของโครงการซึ่งจะเป็นเครื่องแสดงถึงขนาดของโครงการในขณะเดียวกันด้วย  ฉะนั้นการศึกษาด้านตลาดของโครงการจึงเป็นการพิจารณาด้านอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากโครงการนั่นเอง

 

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางสถาบัน  (institutional  analysis)  ประเด็นสำคัญของการวิเคราะห์ทางสถาบัน  ก็เพื่อเลือกเทคนิคที่เหมาะสมถูกต้องกับปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของโครงการ  เพื่อจะได้เกิดการใช้ทรัพยากรของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด  ในการวิเคราะห์ด้านเทคนิคนี้จะมีความสำคัญต่อขบวนการผลิตของโครงการเป็นอย่างมาก  จึงต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญจากเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านให้เป็นผู้ทำการวิเคราะห์โดยไม่จำเป็นว่าผู้จัดทำโครงการจะต้องวิเคราะห์ด้วยตนเองเสมอไป  นอกจากนั้นการวิเคราะห์ทางด้านเทคนิค  ยังเป็นฐานที่นำไปสู่การประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการได้อีกด้วย  ดังนั้นการวิเคราะห์ด้านเทคนิคโดยทั่วๆ ไปจะมุ่งไปที่การวิเคราะห์เรื่องเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านวิศวกรรม  ซึ่งได้แก่  เครื่องจักร  วัตถุดิบ  และบุคคล  เป็นสำคัญ

 

              .3  การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการบริหาร  (Administration analysis) ในการวิเคราะห์ทางด้านบริหารเป็นการศึกษาถึงการจัดรูปองค์การ การบริหารงานของโครงการว่าควรจะเป็นไปอย่างไร จึงจะมีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการบริหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาทางด้านการบริหารจัดการโครงการเมื่อมีการนำโครงการไปปฏิบัติ

 

4   การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน  (Financial analysis) เนื่องจากการจัดทำโครงการนั้นจำเป็นต้องมีการลงทุนหรือมีการใช้เงิน เพื่อจัดหามาซึ่งสินทรัพย์ของโครงการ ปัจจัยที่ต้องใช้ในการผลิตและค่าใช้จ่ายดำเนินการในโครงการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจะต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะวิเคราะห์คือ การจัดเตรียมงบประมาณการเงินเพื่อดูความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของโครงการ หรือดูว่าผลตอบแทนในการลงทุนของโครงการนั้นคุ้มค่าหรือไม่

การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสิ่งแวดล้อม  (environment  analysis)  ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในโลกนี้ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ในการแลกเปลี่ยนและการใช้ในการผลิต  ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติบางประการในตัวของทรัพยากรนั้นๆ  ได้ก่อให้เกิดความล้มเหลวของกลไกตลาดและราคา  (market  failure)  ประเด็นสำคัญที่ก่อให้เกิดการทำงานของกลไกตลาดและราคาไม่เป็นผล  ประกอบด้วยการเป็นทรัพย์สินส่วนรวม  (common  property  resource)  การมีลักษณะเป็นสินค้าสาธารณะ  (public  goods)  และการมีลักษณะของผลกระทบข้างเคียง  (externality

 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้  ทางด้านการเงินเป็นหลักและมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจสังคม  และสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบโดยเกณฑ์การตัดสินใจที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงินนั้นเป็นแบบที่มีการปรับค่าของเวลาซึ่งใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้

อัตราผลตอบแทนของโครงการ  (internal  rate  of  return  หรือ  IRR)  คืออัตราที่จะทำให้ผลตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่ได้คิดลดเป็นค่าในปัจจุบันแล้วเท่ากัน  ซึ่งอัตราดังกล่าวเป็นอัตราความสามารถของเงินลงทุนที่จะก่อให้เกิดรายได้คุ้มกับเงินลงทุนเพื่อการนั้นพอดี  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  ดูว่าอัตราส่วนลดตัวใดที่จะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นศูนย์ดังสมการต่อไปนี้

 

 

 

 


                            

                                           โดยที่  Bt           =     ผลตอบแทนของโครงการในปีที่ t

                                                       Ct            =    ต้นทุนของโครงการในปีที่ t

                                                       IRR        =   อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ

                                                        r             =   อัตราคิดลดซึ่งมีค่าเท่ากับต้นทุนค่าเสียโอกาสของ

 เงินทุน

                                                        n            =   อายุของโครงการ (Project Life)

                                                        t             =   0, 1, 2… n

 

เมื่อคำนวณได้ค่า  IRR   แล้วจึงนำไปเปรียบเทียบกับค่าเสียโอกาสของทุนหรืออัตราดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนเงินทุน  (cost  of  capital)  ถ้า  IRR  ที่คำนวณได้สูงกกว่าต้นทุนเงินทุน  แสดงว่าการลงทุนในโครงการนี้คุ้มค่า  เพราะผลตอบแทนของเงินที่ใช้ไปในโครงการจะสูงกว่าการใช้เงินไปในทางเลือกอื่น  จึงแสดงถึงความเป็นไปได้ของโครงการ  ตรงกันข้ามถ้า  IRR  ที่คำนวณได้ของโครงการต่ำกว่าต้นทุนของเงินทุน  การลงทุนในโครงการจะเป็นการไม่คุ้มค่าเงิน

 

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ  (net  present  value  หรือ  NPV)  มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการคือ  ผลรวมของผลประโยชน์ตอบแทนสุทธิของโครงการที่ได้ปรับค่าของเวลาแล้วซึ่งมุ่งวัดเพื่อดูว่าโครงการที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นจะให้ผลตอบแทนหรือมีกำไรหรือไม่  กล่าวคือถ้า  NPV  ที่คำนวณออกมาได้มีค่ามากกว่าศูนย์หรือเป็นบวกแสดงว่าผลประโยชน์สูงกว่าค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า  ตรงกันข้ามถ้าค่า  NPV  ที่คำนวณได้ออกมาเป็นค่าลบหรือต่ำกว่าศูนย์แสดงว่าการลงทุนในโครงการนั้นจะไม่คุ้มค่า  เกณฑ์นี้จึงใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจที่จะรับหรือปฏิเสธโครงการได้  ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรคำนวณได้ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 


การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่มีผลต่อโครงการ   (sensitivity  analysis)  เป็นการวิเคราะห์โครงการภายใต้สถานการณ์เสี่ยงภัยและไม่แน่นอน   โดยที่ความเสี่ยง  หมายถึงสถานการณ์ซึ่งผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตมีความไม่แน่นอนหรือการที่ไม่มีความรู้อย่างแน่ชัดเกี่ยวกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  แต่ขณะเดียวกันก็พอจะทราบถึงความน่าจะเป็นที่สถานการณ์ต่างๆ  จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างประมาณการณ์ได้  และความไม่แน่นอนหมายถึงสถานการณ์ซึ่งผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตไม่อยู่ในฐานะที่จะคาดหมายได้  หรือการไม่มีความรู้ใดๆ  เกี่ยวกับสภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเลย  หรือไม่ทราบความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นเลย  ดังนั้นการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการจึงเป็นการสร้างทางเลือกในการตัดสินใจให้กับผู้ลงทุน  โดยพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีกำหนดให้ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนแปลงในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่  (ชูชีพ ,  2544)   

 

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์  (economic  analysis)  เป็นการวิเคราะห์ที่มุ่งดูผลตอบแทนต่อระบบสังคมโดยส่วนรวม  ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ทางการเงินที่มุ่งพิจารณาเฉพาะภายในโครงการ  ดังนั้นราคาที่นำมาวัดต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ  จึงต้องเป็นราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพยากรนั้น  ก็คือราคาเงาหรือราคาทางบัญชี (shadow  price  หรือ  accounting  price)  ทั้งนี้การที่ต้องใช้ราคาเงาหรือ  ราคาทางบัญชีแทนที่จะเป็นราคาตลาดนั้น  ก็เพราะว่าราคาตลาดไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริง  (true  value)  ในทางเศรษฐกิจของทรัพยากรที่ผลิตได้หรือที่ใช้ในโครงการ  และนำไปสู่ความผิดพลาดของการจัดลำดับและการเลือกในระหว่างโครงการต่างๆ       เหตุผลหลายประการที่นำมาใช้อธิบายในเรื่องนี้ได้คือ  ในโลกแห่งความเป็นจริงพบว่าแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์  (perfectly  competitive  paradigm)  ไม่เป็นจริง  ราคาตลาดจึงมักจะแตกต่างไปจากราคาเหมาะสมทางสังคม  ด้วยเหตุผลนี้ตลาดจึงเป็นแบบไม่สมบูรณ์  ซึ่งมีการตั้งราคาขายของผู้ผูกขาด  (monopolistic  pricing)   การแทรกแซงของรัฐบาล  (government  intervention)  ความไม่สมบูรณ์ในข่าวสารข้อมูลและความไม่รอบรู้ของผู้มีส่วนร่วมในตลาด (imperfect  knowledge)   ผลจากภายนอก (externalities)   เป็นต้น  ราคาเงาหรือราคาทางการบัญชีจึงเข้ามาแทนที่ราคาตลาดของผลผลิตหรือปัจจัยการผลิตเพื่อที่จะได้สะท้อนอย่างถูกต้องของต้นทุนทางสังคมหน่วยสุดท้ายหรือมูลค่าทางสังคมหน่วยสุดท้าย  หรือเป็นทางเลือกผลผลิตที่ยอมสละไป  กับส่วนอื่นของระบบเศรษฐกิจ  ทั้งนี้ราคาเงานอกจากจะแสดงถึงความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภค  (consumer  willingness  to  pay)  เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการมาใช้ในการบริโภคแล้วยังแสดงถึงค่าเสียโอกาส  (opportunity  cost)  ของทรัพยากรต่างๆ  ที่เรานำมาใช้ในโครงการนั้นๆ ด้วย   ซึ่งถ้าหากราคาตลาดของผลผลิตจากโครงการและราคาตลาดของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในโครงการเท่ากับค่าเสียโอกาสหรือราคาเงาของผลผลิตและปัจจัยนั้น  การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐกิจก็ไม่มีความจำเป็นต้องปรับราคาแต่อย่างใด  เพราะผลที่ได้ก็จะเหมือนกับการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน  แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาตลาดของผลผลิตและปัจจัยการผลิตมักจะไม่เท่ากับค่าเสียโอกาส  เนื่องจากเหตุผลหลายประการ  อาทิเช่น  มีการแทรกแซงจากรัฐบาล  เป็นต้นว่าการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ  การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน  และการกำหนดภาษี  เป็นต้น  ทำให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่เป็นไปตามสภาพที่แท้จริงของทรัพยากรนั้น  นอกจากนี้บางครั้งการเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพก็ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านอื่นๆ  เช่น  การกระจายรายได้  เป็นต้น  ทำให้จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมขึ้น  นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน  เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง  (ชูชีพ, 2544)

             

ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จะมีการคำนึงถึงเรื่องราคา  หรือมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าราคาเงา  (Shadow price) ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากราคาตลาด (market price) (ชูชีพ, 2544) ดังนี้ 

 

1.  ราคาตลาด   หมายถึง  ราคาหรืออัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดขึ้นโดยเปิดเผยซึ่งสามารถสังเกตได้ในการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาด   ในทางทฤษฎีหากระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันที่สมบูรณ์  ราคาตลาดของสินค้า  หรือปัจจัยการผลิตใดๆ  จะเป็นราคาดุลยภาพภายใต้สภาพการณ์ของอุปสงค์และอุปทานของสินค้า  ระดับราคาดังกล่าวเมื่อกำหนดขึ้นมาได้แล้วจะคงอยู่ตลอดไป  หากราคาสินค้าเกิดแตกต่างไปจากราคาดุลยภาพจะเกิดพลังผลักดันให้ราคากลับมาอยู่ที่ดุลยภาพได้อีก  กล่าวคือ  เมื่อระดับราคาเกิดสูงกว่าราคาดุลยภาพ  จะมีอุปทานส่วนเกิน  อันเป็นผลทำให้มีการขายตัดราคาสินค้าซึ่งกันและกันทำให้ระดับราคากลับมาสู่ระดับดุลยภาพ     และถ้าระดับราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้า  บางรายลดการผลิต  บางรายเลิกทำการผลิต  เมื่อสินค้ามีน้อยราคาจะสูงขึ้น  ในที่สุดจะทำให้ระดับราคากลับไปสู่ระดับดุลยภาพได้เช่นกัน  ดังนั้นราคาตลาดจึงเป็นราคาเดียว

 

              แต่เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์มีการบิดเบือน  (Distortion)  อยู่มากมาย  เช่น  การผูกขาดต่างๆ  การควบคุมราคาสินค้า  การเก็บภาษี  เป็นต้น  ราคาตลาดที่ปรากฏอยู่จึงไม่ได้แสดงถึงต้นทุนที่แท้จริงที่ระบบเศรษฐกิจต้องยอมเสียไปเพื่อให้ได้ผลผลิตนั้นมาหรือเรียกว่าต้นทุนที่แท้จริงของสังคม   ดังนั้นในการพิจารณาโครงการโดยมองจากระบบเศรษฐกิจทั้งระบบว่าจะมีผลได้ผลเสียอย่างไรเกิดขึ้นเมื่อมีโครงการนั้นขึ้นมาจึงจำเป็นต้องค้นหาราคาที่แท้จริงเพื่อนำมาใช้ในการตีค่าของโครงการ  กล่าวคือ  จะต้องมีการปรับราคาตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับราคาที่แท้จริงหรือราคาเงา 

 

2.  ราคาเงา  หรือนิยมเรียกว่า  “accounting  price”  หมายถึงราคาที่ควรจะเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีดุลยภาพภายใต้เงื่อนไขของการแข่งขันที่สมบูรณ์  ราคาเงาเป็นราคาที่สมมติขึ้น  (hypothetical  norms)  หรือที่พยายามกำหนดขึ้นเพื่อจะมีผลทำให้ราคาของปัจจัยการผลิตนั้น  เท่ากับมูลค่าที่แท้จริงหรือมูลค่าผลผลิตเพิ่ม  (marginal  value  product)  และเท่ากับค่าเสียโอกาสของการใช้ปัจจัยชนิดนั้น  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการหาราคาที่จะสะท้อนถึง  ค่าเสียโอกาสที่แท้จริงของการใช้ปัจจัยการผลิตหรือสินค้า  เมื่อเป็นเช่นนี้การหาราคาของปัจจัยการผลิตใด  จึงได้แก่การหาค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตนั้นนั่นเอง

              การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่กล่าวมาแล้วทุกประเด็นนั้น  เป็นการวิเคราะห์จากปัจจัยภายในตัวของโครงการเองไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ทางด้านการตลาด  ด้านเทคนิคการผลิต  ด้านการบริหารหรือด้านการเงิน  แต่การจัดทำโครงการนั้นจะต้องมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้องด้วย  ซึ่งได้แก่  ภาวะเศรษฐกิจ  ภาวะสังคมการเมือง  และสภาพสิ่งแวดล้อม  ที่จะมีผลกระทบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวต่อโครงการได้เช่นกัน  ดังนั้น  ผู้วางแผนจัดทำโครงการที่ดีจึงควรที่จะได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อโครงการพร้อมกันไปด้วย

 

              การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และทางการเงิน  มีข้อแตกต่างที่สำคัญ  3  ประการ  (ประสิทธิ์,  2527)  คือ

 

1.  ภาษีและเงินอุดหนุน     การวิเคราะห์ทางการเงินถือว่าภาษีเป็นต้นทุนและเงินอุดหนุนเป็นรายได้  แต่การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ไม่ถือว่าเป็นต้นทุนเนื่องจากภาษีเป็นการจ่ายกลับคืนให้กับสังคม    กล่าวคือภาษีเป็นส่วนหนึ่งของผลได้จากโครงการซึ่งสังคมจะได้รับคืนมาใช้ในสิ่งที่เห็นควร  ส่วนเงินอุดหนุนถือเป็นต้นทุนเพราะเป็นการโอนเงินจากรัฐบาลไปให้กับการทำโครงการ  จึงถือเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายของโครงการ

 

2.  ราคา     ราคาที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงินจะใช้ราคาตลาดเสมอ  ซึ่งเป็นราคาที่รวมภาษีและเงินอุดหนุนด้วยแล้ว  แต่ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจะใช้ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงและผลผลิตของทรัพยากรที่ใช้  ฉะนั้นหากราคาตลาดปรากฏอยู่ไม่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงดังกล่าว  จะต้องมีการปรับราคาโดยใช้ราคาเงาหรือราคาทางบัญชีแทน

 

3.  ดอกเบี้ยเงินลงทุน    ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ดอกเบี้ยเงินลงทุนไม่ถือเป็นต้นทุน จึงไม่ต้องหักออกจากผลได้ทั้งหมด เพราะเป็นผลตอบแทนการใช้ทุนที่สังคมมีอยู่ แต่ในการวิเคราะห์ทางการเงิน ดอกเบี้ยเงินลงทุนถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่จ่ายให้แก่เจ้าของทุนจึงต้องหักออกเป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนตัวหนึ่ง

 

              วัตถุประสงค์สำคัญของการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และทางการเงินคือ  การเปรียบเทียบผลประโยชน์กับต้นทุนโครงการต่างๆ  ซึ่งผลการวิเคราะห์จะอยู่ในรูปของผลตอบแทนสูงกว่าหรือต่ำกว่าต้นทุนที่เสียไปในการเปรียบเทียบผลตอบแทนเพื่อการตัดสินใจว่าโครงการใดดีหรือไม่นั้น  จะมีหลักเกณฑ์อยู่  2  แบบคือ

1.          เกณฑ์แบบไม่ต้องปรับค่าของเวลา

 

2.          เกณฑ์แบบปรับค่าเวลา

 

(      ) ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนของการน้ำร้อนแสงอาทิตย์และฮีทปั้มด้วยระบบผสมผสานครั้งนี้จะใช้เกณฑ์แบบปรับค่าของเวลา ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจึงต้องมีการปรับค่าของเวลาของการได้มาซึ่งผลตอบแทนและต้นทุนให้เป็นค่าปัจจุบันเสียก่อน    และผลจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลขั้นพื้นฐานในการพิจารณาความเหมาะสมของการตัดสินใจทำโครงการขึ้นจริงในขั้นตอนต่อไป

 

 

 

1.          เทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

 

การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันมีการผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูง

และอุณหภูมิต่ำ ซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อน 3 แบบดังนี้

2.1 แผ่นรับแสงแบบรวมแสง (Focusing Solar Collector)

เป็นแบบที่สามารถผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูงซึ่งจำแนกได้ตามชนิดของการรวมแสงแบ่งออกเป็น 2

ชนิดคือ

1) การรวมแสงเป็นจุด (point-focus solar collector) ได้แก่ระบบรวมแสงเข้าหอรับแสง

(central receivers tower) และจานรวมแสงเป็นจุด (parabolic dishes)

2) การรวมแสงเป็นเส้น (line-focus solar collector) ได้แก่เลนซ์สะท้อนรวมแสง (Fresnelreflector) และจานรวมแสงเป็นเส้น (parabolic troughs)เทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนโดยใช้แผ่นรับแสงดังกล่าวข้างต้นนี้ จะมีการทำงานของอุปกรณ์ให้เคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ ซึ่งจะมีผลทำให้แผ่นรับแสงสามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ตลอดเวลาช่วงกลางวันทำให้มีอุณหภูมิสูงมาก ระดับอุณหภูมิที่ทำได้ของแผ่นรับแสงแบบรวมแสง

 

แบบแผ่นรับแสง

ระดับอุณหภูมิสูงสุดโดยประมาณ

(องศาเซลเซียส)

 

1.หอรับแสง (central receiver tower)

1000

2.จานรวมแสงเป็นจุด (parabolic dish)

1500

3.เลนซ์สะท้อนรวมแสง (Fresnel reflector)

250

4.จานรวมแสงเป็นเส้น (parabolic troughs)

300

 

2.2     แผ่นรับแสงแบบแผ่นเรียบ (Flat Plate Solar Collector)

 

เป็นแบบที่สามารถผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิต่ำ แผ่นรับแสงแบบนี้จะไม่มีอุปกรณ์ให้เคลื่อนที่ตามดวง

อาทิตย์ (non-tracking solar collector ) ได้แก่ แผ่นรับแสงแบบแผ่นเรียบชนิดมีแผ่นปิดใส (single glazed)และแผ่นรับแสงแบบแผ่นเรียบชนิดไม่มีแผ่นปิด (un glazed) เป็นต้น แผ่นรับแสงแบบนี้จะสามารถรับแสงอาทิตย์เป็นความที่อุณหภูมิต่ำดังแสดงในรูป

 

รูปที่ 2.1 แผ่นรับแสงแบบแผ่นเรียบ (Flat Plat Solar Collector

 

แบบแผ่นรับแสง

ระดับอุณหภูมิสูงสุดโดยประมาณ

 

1.แผ่นเรียบชนิดมีแผ่นปิดใส(singleglazed)

40 – 90

 

2.แผ่นเรียบชนิดไม่มีแผ่นปิด (un glazed)

< 40

 

3.สระแสงอาทิตย์ชนิดตื้น

(shallow solar pond)

40        – 60

 

4.สระแสงอาทิตย์ชนิดลึก

(deep or salt gradient solar pond)

40 – 90

 

5. ท่อน้ำสุญญากาศ

(evacuated tubular collector)

100 – 200

 

 

 

2.3) แผ่นรับแสงแบบหลอดแก้วสุญญากาศ (Evacuated Tube Solar Collector)

 

เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานความร้อนอีกรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นหลอดแก้วสองชั้น ระหว่างชั้นเป็นสุญญากาศ ภายในเคลือบด้วยสารดูดกลืนรังสี มีประสิทธิภาพสูงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการน้ำร้อนอุณหภูมิ

 

 

ความเหมาะสมด้านเทคนิคของเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนแบบผสมผสาน

 

เทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนแบบผสมผสานผลิตน้ำร้อนที่มีแผ่นรับแสงแบบแผ่นเรียบชนิดมีแผ่นปิดใสและเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากปั้มความร้อน ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีจะมีคุณลักษณะเชิงเทคนิคดังนี้

4.1) เทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนที่มีแผ่นรับแสงแบบแผ่นเรียบชนิดมีแผ่นปิดใส

- ผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 40 – 90 องศาเซลเซียสโดยไม่ต้องใช้พลังงานเสริม

- ผลิตน้ำร้อนได้เฉพาะในช่วงเวลากลางวันที่ท้องฟ้าโปร่ง

- ต้องการสถานที่ติดตั้งแบบโล่งแจ้งไม่มีเงาบัง และใช้พื้นที่มาก หากต้องการปริมาณน้ำร้อนมาก

- ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

- ต้องการการดูแลบำรุงรักษาบ้างโดยเฉพาะในเรื่องการทำความสะอาดแผ่นปิด

- สามารถผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสได้ประมาณ 70 ลิตร/ตร./วัน

4.2) เทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากปั้มความร้อน

- ผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 40 – 90 องศาเซลเซียสโดยพลังงานไฟฟ้า

- ผลิตน้ำร้อนได้เฉพาะในช่วงเวลาที่อุณหภูมิต่ำระบบปั้มความร้อนจะทำงาน

 - ต้องการสถานที่ติดตั้งเล็กน้อยเท่านั้น

- ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

- ต้องการการดูแลบำรุงรักษาบ้างเพียงเล็กน้อย

- สามารถผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสได้ประมาณ 45.5 ลิตร/ตันความเย็น/ชั่วโมง

4.3) ความสัมพันธ์ของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับความร้อนเหลือทิ้งในการผลิตน้ำร้อนจากคุณลักษณะเชิงเทคนิคของเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการผลิตน้ำร้อนทั้งสองแบบจะมีความสัมพันธ์และสอดคล้องเหมาะสมที่จะนำมาผลิตน้ำร้อนแบบผสมผสานกันดังนี้

- ผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 40 – 70 องศาเซลเซียสเหมือนกัน

- ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน

- ต้องการการดูแลบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อยเหมือนกัน

- การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตน้ำร้อนจะสามารถผลิตได้เฉพาะในช่วงเวลากลางวันที่ท้องฟ้าโปร่งเท่านั้น นั่นคือในช่วงฤดูฝนการผลิตน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์จะไม่สามารถผลิตได้เต็มความสามารถจำเป็นต้องใช้พลังงานจากปั้มความร้อน

 

กฤษณ์ คงเจริญ ( 2547)             ได้ทำการศึกษาวิเราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การลงทุน

โครงการผลิตน้ำร้อนด้วยระบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์ รงพยาบาลแกลง จังหวัดระยองพบว่าในช่วงการศึกษาใน ช่วง6 เดือนนับตั้งแต่ติดตั้งระบบโดยกำหนดอายุโครงการเท่ากับ 16 ปีตามอายุการใช้งานของระบบและใช้อัตราคิดลดร้อยละ 8 พบว่าโครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)เท่ากับ 1,071,359.57 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 2.34 และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ (IRR) เท่ากับร้อยละ 31.15 และผลการวิเคาระห์ความอ่อนไหวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการเนื่องจากปัจจัยต่างๆพบว่าโครงการยังมีทั้งความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุน และการทดสอบค่าการเปลี่ยนของต้นทุนและผลประโยชน์ขอโครงพบว่าต้นทุนของโครงการสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 134.33% และผลประโยชน์ของโครงการสามารถลดลงได้ถึงร้อยละ 57.33 จึงทำให้โครงการไม่มีควคุ้มค่าในการลงทุน

 

สรรพวรรธ วิทยาศัยและเพื่อน (2536) ได้ศึกษาถึงการเลือกใช้ปั้มความร้อนเสริมสำหรับระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ สมการทางคณิตศาสตร์ถูกนำมาจำลองการทำงานของระบบเพื่อศึกษาถึงระยะเวลาการคืนทุนของระบบ โดยทำการปรับเปลี่ยนขนาดของปั้มความร้อน ชนิดสารทำงานในปั้มความร้อน ชนิดของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ขนาดตัวเก็บรังสีอาทิตย์และขนาดถังเก็บสะสมพลังงาน ปั้มความร้อนจะถูกนำมาใช้เสริมระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์กรณีภาระของระบบคงที่เปรียบเทียบกับระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ทั่วไป ระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ที่ใช้ปั้มความร้อนเสริมจะให้ระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ทั้วไปเมื่อระบบมีอัตราความต้องการความร้อนมากกว่า 10 MJ/h ที่การทำงานแบบต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง (กลางวัน) และ 24 ชั่วโมงต่อวัน ดังเช่นระบบที่มีอัตราความต้องการความร้อน 15 MJ/h แบบต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง (กลางวัน) ระบบใช้ปั้มความร้อนขนาด 830 W สารทำงาน R-134a และใช้ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบกระจกชั้นเดียว ขนาด 6.6 ตร.ม. ที่มีถังเก็บสะสมพลังงานขนาด 200 ลิตร จะเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุด มีระยะเวลาคืนทุน 3.8 ปี กรณีที่ระบบมีความต้องการความร้อนน้อยกว่า 10 MJ/h ระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ทั่วไปจะมีความเหมาะสมมากกว่า เช่น ระบบที่มีอัตราความต้องการความร้อน 5 MJ/h แบบต่อเนื่อง 12 ชั่วโมง (กลางวัน) ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบกระจกชั้นเดียว ขนาด 6.6 ตร.ม. ที่มีถังเก็บสะสมพลังงานขนาด 200 ลิตรจะเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุด มีระยะเวลาคืนทุน 9.3 ปี

              ปณต วิไลพล (2540)  ได้ทำการการศึกษาการนำพลังงานความร้อนทิ้งจากอุปกรณ์ควบแน่นของระบบปรับอากาศสำหรับผลิตน้ำร้อนโดยปั๊มความร้อนแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปั๊มความร้อน ซึ่งใช้ R-22 เป็นสารทำงาน ได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อประเมินสมรรถนะในการผลิตน้ำร้อน โดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากพลังงานความร้อนทิ้งใน น้ำหล่อเย็นของระบบปรับอากาศ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปั๊มความร้อนสร้างขึ้นจากสมการความสัมพันธ์ทางอุณหพลศาสตร์ของอุปกรณ์ปั๊มความร้อนและสมการความสัมพันธ์ของสภาวะของ R-22 ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์โดยใช้ข้อมูลสภาวะของน้ำหล่อเย็นของระบบปรับอากาศซึ่งเป็นข้อมูลป้อนเข้าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปั๊มความร้อนเป็นข้อมูลที่จัดเก็บจริงจากสถานที่ทำการวิจัยซึ่งเป็นโรงแรมขนาด 320 ห้อง ตลอดระยะเวลา 1 ปี ผลของการจำลองสถานการณ์การผลิตน้ำร้อนด้วยปั๊มความร้อนขนาด 3,736 กิโลวัตต์ โดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากน้ำหล่อเย็นของโรงแรมดังกล่าวพบว่า อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ผลิตได้มีค่าระหว่าง 45.2-47.3 องศาเซลเซียสและมีอัตราการผลิตน้ำร้อนเท่ากับ 40 กิโลกรัมต่อวินาทีซึ่งเพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการอุปโภคน้ำร้อนของโรงแรมขนาด 320 ห้อง และระบบผลิตน้ำร้อนโดยปั๊มความร้อนมีสัมประสิทธิ์ของสมรรถนะระหว่าง 3.286-3.406 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตน้ำร้อนด้วยปั๊มความร้อนโดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากน้ำหล่อเย็นและใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน เปรียบเทียบกับการผลิตน้ำร้อนด้วยหม้อ ไอน้ำซึ่งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงนั้น การวิเคราะห์จะใช้ข้อมูลปริมาณการอุปโภคน้ำร้อนซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดเก็บจริงจากโรงแรมขนาด 320 ห้องตลอดระยะเวลา 1 ปี เป็นข้อมูลที่กำหนดอัตราการผลิตน้ำร้อนของทั้งสองระบบ ซึ่งการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุนของการเปลี่ยนนระบบผลิตน้ำร้อนจากการผลิตด้วยหม้อไอน้ำมาเป็นการผลิตน้ำร้อนโดยปั๊มความร้อน เมื่อไม่คิดมูลค่าซากของหม้อไอน้ำ พบว่าอัตราผลตอบแทนของการลงทุนมีค่าเท่ากับ 16.00% และการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุนใหม่ในการผลิตน้ำร้อนโดยปั๊มความร้อนเปรียบเทียบกับการผลิตน้ำร้อนด้วยหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องมีการซื้ออุปกรณ์ใหม่ทั้งสองระบบ พบว่าอัตราผลตอบแทนของการ ลงทุนมีค่าเท่ากับ 17.02%




ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์และคณะ (2550) ทำการเปรียบเทียบระบบทำน้ำร้อนแบบปั๊มความร้อนแสงอาทิตย์กับระบบปั๊มความร้อนเพียงอย่างเดียว งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบทำน้ำร้อนแบบปั๊มความร้อนแสงอาทิตย์ซึ่งมีตัวเก็บรังสีแบบแผ่นเรียบให้ความร้อนอีวาปอเรเตอร์ของปั๊มความร้อนและที่คอนเดนเซอร์ ผลิตน้ำร้อนสู่ถังเก็บเพื่อนำไปใช้งาน เปรียบเทียบกับระบบทำน้ำร้อนที่ใช้ปั๊มความร้อนเพียงอย่างเดียว ในงานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรก เป็นการศึกษาเชิงทดลองโดยทดสอบระบบปั๊มความร้อน ขนาดการทำความเย็นประมาณ 3.5 kw ที่มี R 134 a และทำการผลิตความร้อนที่คอนเดนเซอร์ โดยในช่วงกลางวัน จะมีตัวเก็บรังสีแบบแผ่นเรียบพื้นที่ 6 ตารางเมตรให้ความร้อน ความร้อนที่อีวาปอเรเตอร์ และในเวลากลางคืนอีวาปอเรเตอร์จะดึงความร้อนจากอากาศรอบ ๆ จากนั้นจะมีการพัฒนาโมเดลเพื่อจำลองสภาพการทำงานของปั๊มความร้อน ซึ่งมีผลการจำลองใกล้เคียงกับผลการทดลอง โดยระบบมีขนาดถังเก็บน้ำร้อน 200 ลิตร มีการดึงน้ำร้อนไปใช้งานตลอดเวลาที่อัตราการไหล 150 ลิตร/ชั่วโมง โดยอุณหภูมิใช้งานที่ 45 C ในส่วนที่สอง ได้ทำการศึกษาเลือกขนาดของตัวเก็บรังสีแสงอาทิตย์ ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน โดยโมเดลข้างต้นร่วมกับการวิเคราะห์ผลทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่รับรังสีที่เหมาะสม จะประมาณ 6.6 ตารางเมตร โดยระบบจะให้อัตราผลตอบแทนภายในสำหรับการผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำร้อนที่ใช้งาน 40, 45 และ 50 C อยู่ที่ 10, 18 และ 26% ตามลำดับ และระยะเวลาคืนทุนที่ 7.86, 5.23 และ 3.72 ปี ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 บทที่ 3

                                                                 วิธีดำเนินการวิจัย

 

11.1  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 

                      อาคารบางกอกซิตี้ โฮเทล กรุงเทพมหานคร

 

11.2  ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

 

 

 

 

                  11.3  เครื่องมือและการพัฒนาเครื่องมือ

   

11.4  การเก็บรวบรวมข้อมูล 

 

11.5  วิธีวิเคราะห์ข้อมูล 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม

 

                  1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2552).เอกสารสัมนาโครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน, 2552

                  2. กฤษณ์ คงเจริญ. (2547). การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนโครงการผลิตน้ำร้อนด้วยระบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์: กรณีศึกษา โรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง

3. ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ (2543) บทความวิชาการ, การใช้ปั้มความร้อนในการนำความร้อนทิ้งกลับคืนมาใช้ประโยชน์, 2543

 

 

 

 

Visitors: 1,050,393